คลิกเบท ข่าวมหันต์ภัยคลิ๊กเข้าไปเสี่ยงมัลแวร์



 เนื่องจากการเป็นผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีอยู่หลายจำพวก ไม่ว่าจะเป็น PC มือถือ Ipad วันนี้เลยอยากนำความรู้ที่มีผ่านตัวหนังสือให้ผู้อ่านได้ศึกษาดูกัน 

     ว่าด้วยเรื่องคลิกเบท(Clickbait) เริ่มมาจากการซื้อขายโฆษณาตามหน้าเวปไซด์ ประเภทสื่อลามก อนาจารก่อน โดยอาศัยการแฝงโฆษณาในแนวใครเข้าไปดูจะเด้งโฆษณาเป็นแบบอัตโนมัติขึ้นมา ผู้ทำเวปไซด์ก็จะนำจำนวนที่คนเข้าดูไปคิดเงินตามเรทกับบริษัทโฆษณานั้นๆ ต่อมาได้ลุกลามมาถึงสื่อประเภทข่าว จะแฝงมาในแนวทำให้อย่ากรู้อยากเห็น เล่นกับคำที่ใช้พวดหัวข้อข่าวต่างๆ เช่น ตะลึง!! อึ้ง!! แล้วคุณจะคาดไม่ถึง!!  คลิกเข้าไปดูสิ!! และ ไม่เชื่อว่าเค้าทำแบบนี้!! ซึ่งก็แน่นอนว่าคนที่คาใจคงต้องคลิ๊กเข้าไปอ่านดู ซึ้งนั่นล่ะเราได้หลงกลเข้าแล้ว




   มาว่าต่อกันเรื่องผลที่เกิดขึ้น เนื่องจากการแย่งชิงกันในหัวข้อข่าวสมัยนี้ต้องไว ใครแชร์ได้ก่อนก็จะได้เปรียบซึ่งแน่นอนต้องเกิดช่องโหว่ในการคัดกรอง ตราจสอบที่มาของข่าว จริงหรือเท็จอย่างไร ไม่สน นำเสนอให้ไวและน่ากดเข้าไปดูเท่านั้นที่คนทำเวปไซด์จำพวกนี้ต้องการ เราเองก็จะตกเป็นเหยื่อในทันทีจากข่าวที่นำเสนอเพียงให้น่าสนใจไม่มีที่มาที่ไป ข่าวไม่กรอง ข้อเท็จจริงไม่มี



    และผลเสียที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง คงหนีไม่พ้น มัลแวร์(Malware) ซึ้งบริษัทโฆษณานั้นๆแถมมาด้วยอย่างตั้งใจหรือไม่ตังใจก็ตาม เรามาดูคำจำกัดความของมัลแวร์กัน 


          มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจากคำว่า Malicious Software โดยเราจะอธิบายคำว่ามัลแวร์ว่าคือโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสงค์ร้ายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ มือถือและเพื่อมาล้วงข้อมูลสำคัญไปจากผู้ใช้งาน โดยมัลแวร์ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ไวรัส (Virus) เวิร์ม (Worm) โทรจัน (Trojan Horse) สปายแวร์ (Spyware) คีย์ล๊อกเกอร์ (Key Logger) คุ้กกี้ (Cookie) และการ Malicious Mobile Code (MMC) ที่อาศัยช่องโหว่ของโปรแกรมบราวเซอร์
     ถ้าเกิดมัลแวร์เหล่านี้ได้เข้ามาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือมือถือจะเกิดผลกระทบมากมาย สิ่งที่เห็นได้ชัดเมื่อมัลแวร์มาอยู่ในเครื่อง ก็คือการทำงานของเครื่องจะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด และมีการส่งข้อมูลผ่านอีเมล์แบบที่ผู้ใช้งานไม่รู้ โดยมัลแวร์จะพยายามซ้อนตัวอยู่ในรีจิสทรีของระบบปฏิบัติการณ์ 


  แน่นอนถ้ามือถือของท่าน มีมัลแวร์แฝงอยู่นั้น อาการที่เห้นได้ชัดคือเครื่องหน่วงช้า ไม่ไหลลื่นเหมือนอย่างเคย บางทีถึงกับต้องล้างเครื่องใหม่กันเลยทีเดียว ซึงมัลแวร์บางตัวขอบอกว่าล้างเครื่องก็ไม่หาย สักพักจะกลับมากวนเครื่องของเราอยู่ดี อาจต้องถึงกับเข้าร้านเพื่ออัพเฟิร์มแวร์ใหม่ เสียเงินเสียทองกันเลยทีเดียว


   วิธีแก้ หรือวิธีหยุดคือ 
            - ให้ตั้งสติก่อนคลิ๊กดูข่าวอะไร
            - หาแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือซึ่งดูได้จากที่มาของข่าว(ตัวหนังสือสีเทาบริเวณใต้หัวข้อข่าว) เช่น                ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก ฯลฯ
           - ไม่แชร์ ข่าวคลิกเบทให้เพื่อนอ่านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

  เพียงเท่านี้โทรศัพท์ที่คุณรักก้อจะอยู่รับใช้คุณไปนานๆ

แหล่งอ้างอิง : ความรู้.net, IT24Hr

ถ้าชอบช่วยกดถูกใจ ถ้าใช่แชร์ต่อให้เพื่อนเลย!!!


 
Copyright © 2016. We Love Phanatnikhom.
Design by Herdiansyah Hamzah. & Distributed by Free Blogger Templates
Creative Commons License